วัตถุประสงค์
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบผู้เกี่ยวข้อง ผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้เสีย สามารถดำเนินการจัดการข้อร้องเรียนร้องทุกข์ ข้อเสนอแนะของประชาชน ให้คำปรึกษาได้อย่างเป็นระบบ มีมาตรฐานในการจัดการข้อร้องเรียนเริ่มตั้งแต่ขั้นตอน การรับข้อร้องเรียนร้องทุกข์จากผู้รับบริการหรือหน่วยงานที่ส่งข้อร้องเรียน การวิเคราะห์ ข้อร้องเรียน เพื่อเสนอผู้บริหารพิจารณาให้ความเห็นชอบ การส่งข้อร้องเรียนให้ผู้เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริง การติดตามประเมินผล การรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง และการยุติเรื่องร้องเรียน
ขอบเขตการให้บริการ
1) การรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของประชาชน
2) การแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์
3) การบริการให้คำปรึกษา
4) งานอื่นๆ ตามนโยบายของรัฐบาล
ช่องทางการเข้าถึงบริการ
1) ร้องเรียนด้วยตนเองของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี/สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอทุกอำเภอ
2) ผ่านทาง โทรศัพท์/โทรสาร หมายเลข 032-337103
3) กล่องรับเรื่องราวร้องทุกข์ บริเวณหน้าห้องสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี
4) ส่งจดหมายมาที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรีศาลากลางจังหวัดราชบุรี ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000
ส่วนที่ 1 วิธีการรับเรื่อง/ร้องเรียนร้องทุกข์/การให้คำปรึกษาและการให้บริการข้อมูลข่าวสาร
ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
1.1 การรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ทางไปรษณีย์/โทรสาร ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้
1)อ่านเรื่อง ตรวจสอบข้อมูลเอกสารประกอบการร้องเรียน/ร้องทุกข์โดยละเอียด
2) สรุปประเด็นการร้องเรียน/ร้องทุกข์โดยย่อ แล้วจัดทำบันทึกข้อความเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาตามลำดับ
3) แจ้งให้ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
4) แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องทราบ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.2 กรณีผู้ร้องเรียนร้องทุกข์มาด้วยตนเองให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้
1) สอบถามข้อมูลจากผู้ร้องแล้วกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม ให้มีสาระสำคัญพอสมควรประกอบไปด้วย ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้อง ซึ่งสามารถตรวจสอบตัวตนได้
2) ระบุเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องเรียนร้องทุกข์ พร้อมข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควร หรือความเห็น ความต้องการ ข้อเสนอแนะต่างๆ และให้ลงลายมือชื่อของผู้ร้อง
3) ถ้าเป็นการร้องเรียนร้องทุกข์แทนผู้อื่นต้องแนบใบมอบอำนาจด้วย/หากผู้ร้อง ไม่ยินยอมลงชื่อมิให้รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์นั้นไว้พิจารณาและแจ้งให้ผู้ร้องทราบพร้อมบันทึกเหตุดังกล่าวไว้ในแบบคำร้อง
4) สรุปประเด็นการร้องเรียนร้องทุกข์ โดยย่อแล้วจัดทำบันทึกข้อความและเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณา
5) ส่งหนังสือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
6) แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องทราบ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.3 กรณีรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ทางโทรศัพท์ ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้
1) สอบถามชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
2) สอบถามเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์และปัญหาที่เกิดขึ้น
3) ถ้าเป็นเรื่องร้องเรียนที่กล่าวหาผู้อื่นจะต้องสอบถามผู้ร้องให้ได้รายละเอียดที่ชัดเจนหากผู้ร้องมีข้อมูลเป็นเอกสารขอให้ส่งเอกสารมาเพิ่มเติมทางไปรษณีย์ก็ได้
4) พิจารณาเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ว่าสามารถดำเนินการต่อได้หรือไม่ ถ้าดำเนินการได้ให้รีบประสานผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง และหากได้รับคำตอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ให้แจ้งให้ผู้ร้องทราบต่อไป
5) บันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ หากผู้ร้องไม่ยินยอมให้ข้อมูลมิให้รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์นั้นไว้พิจารณา ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคล/นิติบุคคลหรือผู้เกี่ยวข้อง มิให้เกิดปัญหาการกลั่นแกล้ง และแจ้งให้ผู้ร้องทราบ
6) สรุปประเด็นการร้องเรียนร้องทุกข์ โดยย่อเพื่อจัดทำบันทึกข้อความและเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณา
7) ส่งหนังสือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
8) แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องทราบ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ส่วนที่ 2ขั้นตอนการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ขั้นตอนที่ 1 รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์
ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์เรื่อง แยกเป็น ๒ กรณี
1) กรณีลักษณะเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์เป็นบัตรสนเท่ห์ (ไม่มีชื่อ-สกุลผู้ร้อง ไม่มีที่อยู่ผู้ร้อง หรือข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถติดต่อได้ ไม่มีพยานหลักฐาน หรือแวดล้อมที่ปรากฏชัดเจน ตลอดจนไม่สามารถชี้พยานบุคคลได้แน่นอน) ให้เสนอผู้บังคับบัญชา ไม่ให้รับเรื่องไว้พิจารณาและจำหน่ายออกจากสารบบ
2) กรณีไม่ใช่บัตรสนเท่ห์ให้ดำเนินการตามวิธีการรับเรื่องข้างต้น
ขั้นตอนที่ 3 การส่งเรื่องให้ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่หนังสือประทับตราแจ้งเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์
1) ทำบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ เพื่อพิจารณา
2) เมื่อผู้บังคับบัญชาลงนามแล้ว ให้จัดส่งตามระบบงานสารบรรณ 3) แจ้งผลการดำเนินการให้ผู้ร้อง ทราบ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ขั้นตอนที่ 4 ผู้รับผิดชอบแจ้งผลการดำเนินการโดยให้มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) มูลเหตุของปัญหา
2) การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
3) แนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหา
4) ผลการชี้แจงให้ผู้ร้องทราบ
5) ข้อเสนอแนะ/ความเห็นของหน่วยงาน
ขั้นตอนที่ 5 ให้ดำเนินการจัดทำบันทึกข้อความสรุปผลการดำเนินงานในรอบเดือน เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ
คำสั่ง แต่งตั้งคณะทงานและมอบหมายความรับผิดชอบระบบจัดการรับเรื่องร้องเรียน
แบบรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี
ศาลากลางจังหวัดราชบุรี สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี ชั้น 3 (หลังใหม่)
ถนนหน้าอำเภอ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000
โทรศัพท์ (+66) 3233 – 7103 โทรสาร (+66) 3233 – 7103